12/5/59

เรียนรู้อย่างสุขใจ...ผจญภัยไปในอวกาศ

ยินดีต้อนรับสู่ห้วงอวกาศ พร้อมผจญภัยไปกับเราแล้วหรือยัง


         ระบบสุริยะมีกำเนิดมาจากซากระเบิดที่สลายตัวของดาวฤกษ์ เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีก่อน กลุ่มก๊าซ และฝุ่นขนาดมหึมาที่เป็นต้นกำเนิดระบบสุริยะ ประกอบด้วย ก๊าซไฮโดรเจน และฮีเลียม หมุนวนแผ่กว้างรอบศูนย์กลาง จนเกิดลักษณะเป็นรูปจานแบน เมื่ออุณหภูมิรอบนอกค่อย ๆ ลดลง มวลสารต่าง ๆ จึงหลอมรวมกัน และก่อตัวเป็นวัตถุ แรกเริ่ม เรียกว่า เศษดาวเคราะห์ ดังนั้น ระบบสุริยะยุคแรกจึงเต็มไปด้วยเศษดาวเคราะห์แผ่ออก คล้ายเป็นวงแหวนกว้างใหญ่ โคจรรอบกลุ่มก๊าซต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเศษดาวเคราะห์เหล่านี้ มีการปะทะและรวมตัวกันอยู่เสมอ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีแรงโน้มถ่วงสูงพอที่จะดึงดูดวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ มารวมตัวกัน พัฒนาเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา



          เนื้อหาในเรื่อง Solar System  มีความเกี่ยวข้องกับระบบสุริยะ คือ การสังเกตการณ์ท้องฟ้าซึ่งมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าและทำความเข้าใจในองค์ประกอบความสัมพันธ์ของระบบสุริยะ การกำเนิดระบบสุริยะและดาวเคราะห์ต่างๆ รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  





      

แบบทดสอบเรื่อง กำเนิดระบบสุริยะ



แบบทดสอบ

ตอนที่ 1

1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบสุริยะ
ก. ระบบสุริยะ คือ ดาราจักร
ข. ระบบสุริยะ คือ ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์
ค. ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อยืนอยู่บนโลก
ง. ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่หมุนอยู่ในวงโคจรภายใต้แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์


2. ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ข. โลกเป็นดาวเคราะห์วงในที่มีดวงจันทร์ 1 ดวง
ค. ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน และมีขนาดเล็กกว่าโลก
ง. ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงในที่มองเห็นจากพื้นโลกมีสีแดง


3. ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด
ก. ดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวเนปจูน


4. การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติข้อใด
ก. ฤดูกาล
ข. สุริยุปราคา
ค. น้ำขึ้นน้ำลง
ง. จันทรุปราคา


5. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการเกิดฤดูกาล
ก. การหมุนรอบตัวเองของโลก
ข. ตำแหน่งดวงอาทิตย์บนเส้นขอบฟ้ามีความสูงแตกต่างกันไป
ค. การที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก
ง. การโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยทำมุมตั้งฉากกับเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก


6. ทฤษฎีบิกแบง หรือทฤษฎีการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับมากกว่าทฤษฎีอื่นเพราะเหตุใด
ก. การค้นพบควอซาร์
ข. การค้นพบรังสีความร้อน
ค. การขยายตัวของระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง
ง. ทั้ง 3 ข้อรวมกัน
7. ดาวเคราะห์ดวงใดในระบบสุริยะที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุด
ก. ดาวพลูโต
ข. ดาวเสาร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี


8. ข้อใดเรียงลำดับขนาดของดาวเคราะห์จากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็กได้ถูกต้อง
ก. ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส ดาวศุกร์ โลก
ข. ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส โลก ดาวศุกร์
ค. ดาวศุกร์ โลก ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส
ง. ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โลก ดาวศุกร์


9. ถ้าดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับการโคจรรอบโลกคือ 30 วัน ดังนั้น หนึ่งวันบนดวงจันทร์จะเท่ากับกี่วันบนโลก
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน


10. ข้อความใดที่ใช้อธิบายวิถีของดวงจันทร์ในวันขึ้น 15 ค่ำ ได้ถูกต้องที่สุด
ก. ดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ข. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ค. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก
ง. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก


11. ทางช้างเผือกที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นลายพาดสีขาวสว่างบนท้องฟ้าในคืนเดือนมืดสนิทคืออะไร
ก. เนบิวลาชนิดหนึ่ง
ข. ฝุ่นธุลีในระบบสุริยะ
ค. ดวงดาวที่อยู่ในระบบกาแล็กซีของเรา
ง. ดวงดาวที่อยู่นอกระบบกาแล็กซี ซึ่งอยู่ไกลมากจนมองแยกเป็นดวงๆ ไม่ออก




12. วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงใด
ก. อยู่นอกระบบสุริยะ
ข. โลก – ดาวอังคาร
ค. ดาวอังคาร – ดาวพฤหัสบดี
ง. ดาวพฤหัสบดี – ดาวเสาร์


13. เพราะเหตุใดดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะของเรา จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์
ก. ดวงอาทิตย์มีแรงโน้มถ่วงสูง
ข. ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่ามาก
ค. ดวงอาทิตย์มีพลังงานสูงจากการให้แสงสว่าง
ง. ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา


14. การที่ดาวฤกษ์ปรากฏเป็นแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าเกิดจากสิ่งใด
ก. เกิดจากปฏิกิริยาภายในดาวฤกษ์
ข. เกิดจากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าบนดวงดาว
ค. เกิดจากดาวฤกษ์สามารถกระพริบแสงได้ในตัวเอง
ง. เกิดจากการผันผวนของบรรยากาศโลก ทำให้แสงเกิดการหักเหตลอดเวลา


15. ข้อใดเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ก. เอกภพ
ข. ระบบสุริยะ
ค. ทางช้างเผือก
ง. กาแล็กซี


16. ดาวฤกษ์ที่จบชีวิตโดยการไม่ระเบิดจะกลายเป็น
ก. ดาวแคระ ดำ
ข. ดาวแคระขาว
ค. หลุมดำ
ง. ดาวยักษ์แดง
17. ระบบสุริยะประกอบด้วย สิ่งต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
ก. เนบิวลา
ข. ดวงอาทิตย์
ค. ดาวเคราะห์น้อย
ง. ดาวหาง


18. ดาวฝาแฝดของโลกคือ
ก. ดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี


19. ดาวเคราะห์ที่ไม่มีวงแหวนล้อมรอบคือ
ก. พฤหัสบดี
ข. เสาร์
ค. ยูเรนัส
ง. พลูโต


20. ลำดับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะข้อใดถูกต้อง
ก. โลก พฤหัสบดี อังคาร ยูเรนัส
ข. ศุกร์ อังคาร เสาร์ เนปจูน
ค. พุธ โลก ศุกร์ เสาร์
ง. โลก พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ยูเรนัส


21. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ
ก. พฤหัสบดี
ข. เสาร์
ค. ยูเรนัส
ง. พลูโต


22. ดวงจันทร์มีอายุประมาณเท่าไร
ก. 2000 ล้านปี
ข. 3000 ล้านปี
ค.3500 ล้านปี
ง. 4600 ล้านปี


23. จุดบนดวงอาทิตย์หมายถึง
ก. บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง
ข. บริเวณที่ไม่เกิดการระเบิด
ค. บริเวณที่มีฝุ่นละอองจำนวนมาก
ง. บริเวณเงาบนดวงอาทิตย์


24. ดาวที่ได้ชื่อว่า “ดาวแดง”คือ
ก. ดวงอาทิตย์
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี


25. ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจะมีความแตกต่างกันหลายประการยกเว้นข้อใด
ก. มวล อุณหภูมิผิว ขนาด ระยะห่าง
ข. สี อายุ องค์ประกอบทาง
ค. เคมี ขนาด ระยะห่าง
ง. มีแสงสว่างในตัวเอง


26. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกมีหลายประการยกเว้นข้อใด
ก. การเกิดแสงเหนือแสงใต้
ข. การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ถูกรบกวน
ค. การเกิดไฟฟ้าแรงสูงในบริเวณประเทศใกล้ขั้วโลก
ง. การเกิดพายุที่รุนแรงในมหาสมุทร


27. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น สิ่งใด
ก. ดาวเคราะห์
ข. ดวงอาทิตย์
ค. กาแล็กซี
ง. ฝุ่นละออง


28. 13.ดาวเคราะห์ที่สามารถเห็นได้เด่นชัดที่สุดด้วยตาเปล่าคือ
ก. ดาวศุกร์
ข. ดาวพฤหัสบดี
ค. ดาวเสาร์
ง. ดาวอังคาร


29. ดาวเคราะห์ชั้นนอกประกอบด้วยดาวเคราะห์จำนวนกี่ดวง
ก. 4 ดวง
ข. 5 ดวง
ค. 6 ดวง
ง. 9 ดวง


30. สีของดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ
ก. สีแดง
ข. สีขาว
ค. สีน้ำเงิน
ง. สีเหลือง


31. ข้อใดส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน
ก. ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ข. การหมุนรอบตัวเองของโลก
ค. โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ง. การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์


32. ข้อใดกล่าวถึงดวงจันทร์
ก. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ข. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มมีแสงสว่างในตัวเอง
ค. ดวงจันทร์มีบรรยากาศห่อหุ้มไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ง. ดวงจันทร์มีบรรยากาศห่อหุ้มมีแสงสว่างในตัวเอง


33. ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เกิดจากอิทธิพลในข้อใด
ก. แรงดึงดูดระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ข. แรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ค. แรงดึงดูดระหว่างโลก ดวงอาทิตย์
ง. แรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์ โลก


34. การหมุนรอบตัวเองของโลกไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ในข้อใด
ก. ทิศ
ข. ประเทศญี่ปุ่นสว่างเร็วกว่าประเทศไทย
ค. น้ำขึ้น - น้ำลง
ง. การขึ้น- ตกของดวงดาว


35. ถ้าเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง




ดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์

ก.
เห็นแสงกระพริบ
เห็นแสงนิ่งไม่กระพริบ

ข.
มีจำนวนมาก
มีจำนวนน้อย

ค.
มีขนาดใหญ่
มีขนาดเล็ก

ง.
อยู่โดดๆ
อยู่เป็นกลุ่ม



36. กาแล็กซีเพื่อนบ้านที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่
1. กาแล็กซีแอนโดรเมดา
2. แมกเจลแลนใหญ่
3. แมกเจลแลนเล็ก
4. ถูกทุกข้อ


37. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ถ้าแบ่งโดยใช้ระยะห่างจากดวงอาทิตย์และแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นเกณฑ์ ดาวเคราะห์ในข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน
ก. ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ โลก
ข. ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร โลก
ค. ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวเสาร์ โลก
ง. ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร


38. ดาวเคราะห์ในข้อใดเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้งหมด
ก. ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวอังคารและดาวพุธ
ค. ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวเนปจูน
ง. ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส ดาวอังคาร และดาวเนปจูน


39. ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด ยกเว้น ดาวเคราะห์ดวงใด
ก. ดาวเสาร์
ข. ดาวยูเรนัส
ค. ดาวเนปจูน
ง. ดาวพลูโต


40. ปัจจุบันนี้เอกภพ มีการเคลื่อนที่อย่างไร
ก. อยู่นิ่ง
ข. เคลื่อนที่เข้ามารวมกัน
ค. ขยายตัวออกจากกัน
ง. ยังไม่มีข้อมูล


41. เนบิวลา มีลักษณะอย่างไร
ก. กลุ่มของดาวฤกษ์
ข. กลุ่มของดาวหาง
ค. กลุ่มของฝุ่นและแก๊ส
ง. กลุ่มของดาวเคราะห์



42. ทฤษฎีใดที่ใช้อธิบายการเกิดเอกภพ
ก. บิกแบง
ข. Steady – state
ค. ทฤษฎีหดตัว
ง. ทฤษฎีขยายตัว


43. เนื้อสารที่เกิดขึ้นขณะเกิดบิกแบงคือ
ก. มวลของสารไฮโดรเจนและฮีเลียม
ข. ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวทริโน และโฟตอน
ค. โฟตอน
ง. ไม่มีข้อถูก


44. กฎของฮับเบิลกล่าวว่า
ก. กาแล็กซียิ่งห่างจากโลกเราเท่าใด ความเร็วของการเคลื่อนห่างออกไปก็ยิ่งช้าลงมากเท่านั้น
ข. กาแล็กซียิ่งห่างจากโลกเราเท่าใด ความเร็วของการเคลื่อนห่างออกไปก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ค. กาแล็กซีเคลื่อนห่างออกจากโลกด้วยอัตราความเร็วสม่ำเสมอ
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง


45. ลักษณะและสมบัติของหลุมดำ คือข้อใด
ก. มีมวลต่ำอยู่รอบนอกของกาแล็กซี
ข. มีมวลต่ำอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ค. มีมวลมหาศาลอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ง. ไม่มีข้อถูก


46. ดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระบบดาวฤกษ์ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนประมาณเท่าใด
ก. 100,000 ล้านดวง
ข. 10,000 ล้านดวง
ค. 1,000 ล้านลวง
ง. 100 ล้านดวง


47. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติดาราจักรทางช้างเผือก
ก. เป็นดาราจักรไม่มีรูปร่าง
ข. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง
ค. ประกอบด้วยดาวฤกษ์ทุกดวงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
ง. มองเห็นเป็นทางสีขาวสลัวพาดผ่านท้องฟ้าในคืนเดือนมืด


48. การระเบิดบนดวงอาทิตย์จะทำให้คนบนโลกเห็นการระเบิดหลังจากเกิดการระเบิดไปแล้วประมาณกี่นาที
ก. 4 นาที
ข. 6 นาที
ค. 8 นาที
ง. 10 นาที


49. 1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ได้ใน 1 ปี มีค่าเท่ากับข้อใด
ก. 5.9 x 1012 กิโลเมตร
ข. 7.5 x 1012 กิโลเมตร
ค. 8.3 x 1012 กิโลเมตร
ง. 9.5 x 10 12 กิโลเมตร


จากข้อมูลในตารางใช้ตอบคำถามข้อ 50 - 51


ชนิดของดาวฤกษ์
สีของดาวฤกษ์

ขาว

น้ำเงิน

เหลือง

ส้ม

50. ดาวฤกษ์ใดที่มีอุณหภูมิมากที่สุด
ก . A
ข. B
ค. C
ง. D


51. ดวงอาทิตย์ของเราจะมีสีเหมือนดาวฤกษ์ชนิดใด
ก . A
ข. B
ค. C
ง. D


52. ข้อความใดอธิบายความหมายของกาแล็กซีได้ถูกต้องที่สุด
ก. กลุ่มเมฆหมอกก้อนกลมมีลักษณะคล้ายจาน
ข. เป็นกระจุกดาวคล้ายดาวลูกไก่
ค. เป็นแถบเรืองแสงสว่างขาวพาดไปบนท้องฟ้า
ง. ระบบของกลุ่มดาวต่าง ๆ รวมทั้งโลก ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และอุกกาบาต



ตอนที่ 2
1. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น .................................................................
2. ระบบสุริยะประกอบด้วย .................................................................
3. ขณะที่มวลสารของเนบิวลาส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ เนบิวลาที่อยู่รอบนอกไม่ได้เคลื่อนไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่.................................................................
4. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะการก่อตัวเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ออกเป็น 4 เขต คือ .................................................................
5. ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะผิวแข็งหรือเป็นหินแบบเดียวกับโลกจึงเรียกว่า ...........................................................................
6. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็น........................................
7. ดาวเคราะห์ชั้นนอก ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
8. เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์คือ .................................................................
9. ดวงอาทิตย์เป็น .................................................................
10. เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจาก .................................................................
11. ลมสุริยะหมายถึง .................................................................
12. ลมสุริยะใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกภายในเวลา 20 – 40 ชั่วโมงและแสงสว่างเดินทางเพียง...........................
13. บริเวณที่มีการระเบิดอย่างรุนแรงบนดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุก ๆ .................................................................
14. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกคือ .................................................................
.
.
..
.
.
.
เฉลยแบบทดสอบ
1. ง 2. ค 3. ค 4. ก 5. ค
6. ง 7. ข 8. ค 9. ข 10. ค
11. ข 12. ก 13. ง 14. ง 15. ข
16. ข 17. ง 18. ข 19. ง 20. ข
21. ก 22. ง 23. ก 24. ก 25. ง
26. ง 27. ข 28. ก 29. ก 30. ก
31. ข 32. ก 33. ง 34. ก 35. ข
36. ก 37. ง 38. ก 39. ง 40. ค
41. ค 42. ก 43. ข 44. ข 45. ค
46. ข 47. ค 48. ค 49. ค 50. ง
51. ง 52. ง


1. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีค่าประมาณ 99.9 % ของมวลสารทั้งหมดของระบบสุริยะ
2. ระบบสุริยะประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและเศษวัตถุขนาดเล็กๆ
3. ขณะที่มวลสารของเนบิวลาส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ เนบิวลาที่อยู่รอบนอกไม่ได้เคลื่อนไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่เคลื่อนที่ หมุนวงเป็นแผ่นกลมแบนรอบดวงอาทิตย์และจับกลุ่มกลายเป็นดาวเคราะห์และบริวารอื่น ๆ ของดวงอาทิตย์
4. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะการก่อตัวเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ออกเป็น 4 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอกและเขตของดาวหาง
5. ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะผิวแข็งหรือเป็นหินแบบเดียวกับโลกจึงเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน
6. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจนและฮีเลี่ยมทั้งดวง
7. ดาวเคราะห์ชั้นนอก ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
8. เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์คือ ดาวหางจำนวนมากที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ และเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์หินคือดาวเคราะห์น้อย
9. ดวงอาทิตย์เป็น ดาวฤกษ์ที่มีสีเหลือง ชนิดสเปกตรัม G อุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน
10. เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจาก แสงสว่างที่ส่องออกมาจากดวงอาทิตย์ไปสะท้อนกับดาวเคราะห์นั้น
11. ลมสุริยะหมายถึง อนุภาคโปรตรอนและอิเล็กตรอนที่แผ่รังสีออกมาจากดวงอาทิตย์
12. ลมสุริยะใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกภายในเวลา 20 – 40 ชั่วโมงและแสงสว่างเดินทางเพียง 8.3 นาที
13. บริเวณที่มีการระเบิดอย่างรุนแรงบนดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุก ๆ 11 ปีซึ่งจะมีการปลดปล่อยอนุภาคจำนวนมากมายเรียนว่า พายุสุริยะ
14. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกคือ การเกิดแสงเหนือแสงใต้ การเกิดไฟฟ้าแรงสูงในบริเวณประเทศใกล้ขั้วโลก การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ถูกรบกวน

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

กลางวันกลางคืน

      กลางวันกลางคืนเกิดขึ้นจากการหมุนรอบตัวเองของโลกจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ด้านที่หันรับแสงอาทิตย์เป็น “กลางวัน” และด้านตรงข้ามที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์เป็น “กลางคืน” 

ภาพที่ 1 การเกิดกลางวันกลางคืน
          เราแบ่งพิกัดเส้นแวง (Longitude) ในแนวเหนือ-ใต้ ออกเป็น 360 เส้น โดยมี ลองจิจูดที่ 0°
อยู่ที่ ตำบล “กรีนิช” (Greenwich) ประเทศอังกฤษ และนับไปทางตะวันออกและตะวันตกข้างละ 180 อันได้แก่ ลองจิจูดที่ 1° - 180° ตะวันออก และลองจิจูดที่ 1° - 180° ตะวันตก เมื่อนำ 360° หารด้วย 24 ชั่วโมง เส้นลองจิจูดที่ 180° ตะวันออก และลองจิจูดที่ 180° ตะวันตก เป็นเส้นเดียวกันซึ่งเรียกว่า “เส้นแบ่งวันสากล” หรือ “International Date Line” (เส้นหนาทางขวามือของภาพที่ 2) หากเราเดินทางข้ามเส้นแบ่งวันจากทิศตะวันออกมายังทิศตะวันตก วันจะเพิ่มขึ้นหนึ่งวัน แต่ถ้าเราเดินทางข้ามเส้นแบ่งวันจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออก วันจะลดลงหนึ่งวัน  เวลาในแต่ละลองจิจูด จะมีความแตกต่างกันชั่วโมงละ 15° เวลามาตรฐานของประเทศไทยถือเอาเวลาลองจิจูดที่ 105° ตะวันออก (จังหวัดอุบลราชธานี) จึงเร็วกว่า “เวลาสากล” (Universal Time เขียนย่อว่า UT) ซึ่งเป็นเวลาที่ตำบลกรีนิช ไป 7 ชั่วโมง (105°/15° = 7) เวลามาตรฐานประเทศไทยจึงมีค่าเท่ากับ UT+7
เกร็ดความรู้เรื่องเวลา
      โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ใช้เวลา 1 ปี หรือ 365 วัน
      เราแบ่งเวลาหนึ่งปี ออกเป็น 12 เดือน ๆ ละ 30 หรือ31 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับเดือนทางจันทรคติ  ซึ่งดวงจันทร์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 30 วัน
      โลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบ ใช้เวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง โดยแต่ละชั่วโมงจะถูกแบ่งย่อยออกเป็น 60 นาที        และแต่ละนาทีถูกแบ่งอีกเป็น 60 วินาที

ภาพที่ 2 แผนที่แสดงโซนเวลาของโลก (Time Zone)
ตัวอย่างที่ 1
         ถาม: ในวันที่ 24 มกราคมเวลา 18:30 UT. เวลามาตรฐานของประเทศไทยจะเป็นเวลาอะไร
เวลามาตรฐานประเทศไทย = 18:30 + 7:00 = 25:30
         ตอบ: เวลามาตรฐานของประเทศไทยจะเป็น วันที่ 25 มกราคม เวลา 01:30 นาฬิกา
ตัวอย่างที่ 2
         ถาม: วันที่ 2 มกราคม เวลา 08:00 น. ของประเทศไทย (UT+7)คิดเป็นเวลาสากล (UT = 0) ได้เท่าไร
เวลาประเทศไทยเร็วกว่าเวลาสากล = 7 - 0 = 7 ชั่วโมง
         ตอบ: เวลาสากลจะเป็น วันที่ 2 มกราคม เวลา 01:00 UT (08:00 – 07:00)
ตัวอย่างที่ 3
         ถาม: วันที่ 2 มกราคม เวลา 08:00 น. ของไทย (UT+7) ตรงกับเวลาอะไรของประเทศญี่ปุ่น (UT+9)
เวลาประเทศญี่ปุ่นเร็วกว่าเวลาประเทศไทย = 9 - 7 = 2 ชั่วโมง
         ตอบ: เวลาที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็น วันที่ 2 มกราคม เวลา 10:00 น. (08:00 + 02:00)
ตัวอย่างที่ 4
        ถาม: วันที่ 2 มกราคม เวลา 08:00 น. ของไทย (UT+7) ตรงกับเวลาอะไรที่กรุงวอชิงตัน ดีซี (UT-5)
เวลาประเทศไทยเร็วกว่าเวลาที่กรุงวอชิงตัน ดีซี = (+7) - (-5) = 12 ชั่วโมง
        ตอบ: เวลาที่กรุงวอชิงตันดีซี จะเป็น วันที่ 1 มกราคม เวลา 20:00 น. (24:00 + 08:00 – 12:00)


ฤดูกาล

        ฤดูกาล (Season) เกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° ในฤดูร้อนโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกเอียงขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ตลอดปี) ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 แกนของโลกเอียง 23.5° ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
หากพื้นผิวของโลกมีสภาพเป็นเนื้อเดียวเหมือนกันหมด (ทรงกลมที่สมบูรณ์) โลกจะมี 4 ฤดู อันได้แก่
           ฤดูร้อน: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น เข้าหาดวงอาทิตย์ (กลางวันนานกว่ากลางคืน)
           ฤดูใบไม้ร่วง: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)
           ฤดูหนาว: เมื่อโลกหันซีกโลกนั้น ออกจากดวงอาทิตย์ (กลางคืนนานกว่ากลางวัน)
           ฤดูใบไม้ผลิ: เมื่อแต่ละซีกโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์เท่ากัน (กลางวันนานเท่าๆ กลางคืน)
แต่เนื่องจากพื้นผิวโลกมีสภาพแตกต่างกันไป เช่น ภูเขา ที่ราบ ทะเล มหาสมุทร ซึ่งส่งอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศ ประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ จึงตกอยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม (Monsoon) ทำให้ประเทศไทยมี 3 ฤดู ประกอบด้วย
           ฤดูร้อน: เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม
           ฤดูฝน: เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม
           ฤดูหนาว: เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์




สุริยุปราคา (Solar Eclipse)

       “สุริยุปราคา” หรือ “สุริยะคราส” เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆ แหว่งมากขึ้น จนกระทั่งมืดมิดหมดดวง และโผล่กลับมาอีกครั้ง คนในสมัยโบราณเชื่อว่า “ราหูอมดวงอาทิตย์” สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในวันแรม 15 ค่ำ แต่ไม่เกิดขึ้นทุกเดือน เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก มิใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา (ภาพที่ 1) ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาบนพื้นผิวโลก จึงมีเพียงประมาณปีละ 1 ครั้ง และเกิดไม่ซ้ำที่กัน เนื่องจากเงาของดวงจันทร์ที่ทาบไปบนพื้นผิวโลก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก และโลกหมุนที่รอบตัวเองอย่างรวดเร็ว

ภาพที่ 1 ระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำมุม 5° กับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
เงาของดวงจันทร์
          ดวงจันทร์เคลื่อนที่บังแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 ชนิด คือ เงามืด และเงามัว
           เงามืด (Umbra) เป็นส่วนที่มืดที่สุด เนื่องจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น ถ้าหากเข้าไปอยู่ ในเงามืด เราจะมิสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้เลย
           เงามัว (Penumbra) ไม่มืดมากนักเนื่องจากได้รับแสงเป็นบางส่วนจากอาทิตย์ ถ้าหากเราเข้าไปอยู่ ในเงามัว เราจะมองเห็นบางส่วนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นส่วนโค้งของดวงจันทร์ออกมาก

ภาพที่ 2 การเกิดสุริยุปราคา

สุริยุปราคา 3 ชนิด

           สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นผิวโลก (A) ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น
           สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งของเงามัว(B) จึงมองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสว่างเป็นเสี้ยว
           สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี บางครั้งดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเสียจนเงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาวไม่ถึงผิวโลก (C) ดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตการณ์มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นรูปวงแหวน



จันทรุปราคา (Lunar Eclipse)

       “จันทรุปราคา” หรือ “จันทรคราส” เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ แหว่งมากขึ้น จนหมดลับดวงและโผล่กลับขึ้นมาอีกครั้ง อย่างที่คนสมัยโบราณเรียกว่า “ราหูอมจันทร์”จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์จันทรุปราคา มิสามารถเกิดขึ้นทุกเดือน เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก มิใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดจันทรุปราคา จึงมีเพียงประมาณปีละ 1-2 ครั้ง โดยที่สามารถมองเห็นจากประเทศไทย เพียงปีละครั้ง

ภาพที่ 1 ระนาบที่โลกทำมุม 5° กับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

เงาโลก
       โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง หากแต่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ด้านที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นกลางวัน ส่วนด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์เป็นกลางคืน การที่โลกบังแสงอาทิตย์ในอวกาศ บังเกิดเงา 2 ชนิด คือ เงามืด และเงามัว

ภาพที่ 2 การเกิดจันทรุปราคา 
       - เงามืด (Umbra) เป็นส่วนที่มืดที่สุด เนื่องจากโลกบดบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น เรามิสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้เลย หากเข้าไปอยู่ในตำแหน่งใด ๆ ในเงามืด
       - เงามัว (Penumbra) เป็นส่วนที่ไม่มืดสนิท เนื่องจากโลกบดบังดวงอาทิตย์เป็นบางส่วนไม่ทั้งดวง ถ้าเราเข้าไปอยู่ในตำแหน่งใด ๆ ในเงามัว เราจะมองเห็นบางส่วนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นส่วนโค้งของโลก

จันทรุปราคา 3 ชนิด
       - จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse)    เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก
       - จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Eclipse)   เกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของดวงจันทร์เฉี่ยวผ่านเงามืด
       - จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Eclipse)   เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามัวของโลก โดยมิได้เฉี่ยวกายเข้าไปในเงามืดแม้แต่น้อย ดวงจันทร์จึงยังคงมองเห็นเต็มดวงอยู่ แต่ความสว่างลดน้อยลง สีออกส้มแดง จันทรุปราคาชนิดนี้หาโอกาสดูได้ยาก เพราะโดยทั่วไปดวงจันทร์มักจะผ่านเข้าไปในเงามืดด้วย

ภาพที่ 3 จันทรุปราคาชนิดต่างๆ
     จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยมีโลกอยู่ตำแหน่งกลาง ผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งใด ๆ บนซีกมืดของโลก (หรือกลางคืน) จะมองเห็นดวงจันทร์โคจรผ่านเงามืดด้วยความเร็ว 1 ก.ม.ต่อวินาที และด้วยเงามืดของโลกมีขนาดจำกัด ดังนั้นดวงจันทร์จะอยู่ในเงามืดได้นานที่สุดเพียง 1 ชั่วโมง 42 นาที เท่านั้น



ข้างขึ้น ข้างแรม

         ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases) หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรามองเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเป็นเสี้ยว บางคืนก็เสี้ยวเล็ก บางคืนก็เสี้ยวใหญ่ บางคืนสว่างเต็มดวง บางบางคืนก็มืดหมดทั้งดวง การที่เรามองเห็นการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นเพราะ ดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ไม่มีแสงในตัวเอง แต่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ด้านมืดของดวงจันทร์เกิดจากส่วนโค้งของดวงจันทร์บังแสง ทำให้เกิดเงามืดทางด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เมื่อมองดูดวงจันทร์จากพื้นโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบ ใช้เวลา 29.5 วัน

ภาพที่ 1 การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
          คนไทยแบ่งเดือนทางจันทรคติออกเป็น 30 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ - วันขึ้น 15 ค่ำ และ วันแรม 1 ค่ำ - วันแรม 15 ค่ำ โดยถือให้วันขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง), วันแรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดทั้งดวง), วันแรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 8 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง) เป็นวันพระ
           วันแรม 15 ค่ำ (รูป ก) เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะหันแต่ทางด้าน
มืดให้โลก  ดวงจันทร์ปรากฏบนท้องฟ้าในตำแหน่งใกล้กับดวงอาทิตย์ ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้เลย
           วันขึ้น 8 ค่ำ (รูป ข) เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งทำมุมฉากกับโลก และดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่าๆ กัน
           วันขึ้น 15 ค่ำ หรือ วันเพ็ญ (รูป ค) ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ดวงจันทร์
หันด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์เข้าหาโลก ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง
           วันแรม 8 ค่ำ (รูป ง) ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งทำมุมฉากกับโลก และดวงอาทิตย์ทำให้
เรามองเห็นด้านสว่างและด้านมืดของดวงจันทร์มีขนาดเท่าๆ กัน
เกร็ดความรู้: 
           วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์อยู่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศตะวันออก ขณะที่ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก
           ดวงจันทร์ขึ้นช้า วันละ 50 นาท
ี           ข้างขึ้น: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงหัวค่ำ
           ข้างแรม: เราจะเห็นดวงจันทร์ในช่วงรุ่งเช้า
           ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบาง แต่เราก็สามารถมองเห็นด้านมืดของดวงจันทร์ได้ เป็นเพราะแสงอาทิตย์ส่องกระทบพื้นผิวโลก แล้วสะท้อนไปยังดวงจันทร์ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า
“เอิร์ธไชน์” (Earth Shine)


ภาพที่ 2 แสงอาทิตย์สะท้อนจากโลก ทำให้เรามองเห็นส่วนมืดของดวงจันทร์



จรวดและยานอวกาศ

หลักการส่งยานอวกาศ

        อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่
อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะ
เคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B) และหาก
เราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบ
โลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลัก
การส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก หากเราเพิ่มแรงให้กับวัตถุมากขึ้นไปอีกเราจะได้วงโคจรเป็นรูป
วงรี (D) และถ้าเราออกแรงขว้างวัตถุไปด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที วัตถุจะไม่หวนกลับคืนอีกแล้ว แต่จะเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศ (E) เราเรียกความเร็วนี้ว่า “ความเร็วหลุดพ้น” (escape speed) และนี่คือหลักการส่งยานอวกาศไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น

ภาพที่ 1 หลักการส่งยานอวกาศ
หมายเหตุ: ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศในแนวราบได้ เพราะโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ ความหนาแน่นของอากาศจะต้านทานให้จรวดเคลื่อนที่ช้าลงและตกลงเสียก่อน ดังนั้นเราจึงส่งจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง แล้วค่อยปรับวิถีให้โค้งขนานกับผิวโลก เมื่ออยู่เหนือชั้นบรรยากาศในภายหลัง
จรวด (Rocket)
เมื่อพูดถึงจรวด เราหมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จรวดทำงานตามกฎของนิวตัน ข้อที่ 3 “แรงกริยา = แรงปฏิกิริยา” จรวดปล่อยก๊าซร้อนออกทางท่อท้าย (แรงกริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (แรงปฏิกิริยา)

ภาพที่ 2 จรวดอารีอาน นำดาวเทียมไทยคมขึ้นสู่วงโคจร
         เราแบ่งประเภทของจรวดตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 2 ประเภท คือ
          จรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน แต่เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถหยุดได้
          จรวดเชื้อเพลิงเหลว มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เพราะต้องมีถังเก็บเชื้อเพลิงเหลว และออกซิเจนเหลว (เพื่อช่วยให้เกิดการสันดาป) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และยังต้องมีท่อและปั๊มเพื่อลำเลียงเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อทำการเผาไหม้ จรวดเชื้อเพลิงเหลวมีข้อดีคือ สามารถควบคุมปริมาณการเผาไหม้ และปรับทิศทางของกระแสก๊าซได้

ภาพที่ 3 จรวดเชื้อเพลิงเหลว และจรวดเชื้อเพลิงแข็ง
จรวดหลายตอน
          การนำจรวดขึ้นสู่อวกาศนั้นจะต้องทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความเร่ง
มากกว่า 9.8 เมตร/วินาที2 หลายเท่า ดังนั้นจึงมีการออกแบบถังเชื้อเพลิงเป็นตอนๆ เราเรียกจรวด
ประเภทนี้ว่า “จรวดหลายตอน” (Multistage rocket) เมื่อเชื้อเพลิงตอนใดหมด ก็จะปลดตอนนั้นทิ้ง เพื่อเพิ่มแรงขับดัน (Force) โดยการลดมวล (mass) เพื่อให้จรวดมีความเร่งมากขึ้น (กฎของนิวตัน
ข้อที่ 2: ความเร่ง = แรง / มวล)
ความแตกต่างระหว่างเครื่องบินไอพ่น และจรวด
         เครื่องยนต์ของเครื่องบินไอพ่นดูดอากาศภายนอกเข้ามาอัดแน่น และทำการสันดาป (เผาไหม้) ทำให้เกิดแรงดันไปข้างหน้า จนปีกสามารถสร้างแรงยก (ความดันอากาศบนปีกน้อยกว่าความดันอากาศใต้ปีก) ทำให้เครื่องลอยขึ้นได้ ส่วนจรวดบรรจุเชื้อเพลิงและออกซิเจนไว้ภายใน เมื่อทำการสันดาปจะปล่อยก๊าซร้อนพุ่งออกมา ดันให้จรวดพุ่งไปในทิศตรงกันข้าม  จรวดไม่ต้องอาศัยอากาศภายนอก มันจึงเดินทางในอวกาศได้ ส่วนเครื่องบินต้องอาศัยอากาศทั้งในการสร้างแรงยก และการเผาไหม้
ภาพที่ 4 SR-71, X-15 และ Space Shuttle
          อากาศยานบางชนิดมีคุณสมบัติทั้งความเป็นจรวดและเครื่องบินในตัวเอง อย่างเช่น X-15, SR-71 และ กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) หากดูอย่างผิวเผินเราแทบจะแยกแยะไม่ออกเลยว่า อากาศยานเหล่านี้คือ จรวด หรือเครื่องบินกันแน่

          ยกตัวอย่าง เช่น
           SR-71 มีรูปร่างคล้ายจรวด แต่เป็นเครื่องบินไอพ่นที่บินได้เร็วที่สุดในโลก มีความเร็วเหนือเสียง 3 เท่า
           X-15 เป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์จรวดที่บินได้เร็วที่สุดในโลก มีความเร็วเหนือเสียง 6.7 เท่า
           กระสวยอวกาศ มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินปีกสามเหลี่ยมโดยทั่วไป ทว่าเป็นยานอวกาศที่ติดตั้งเครื่องยนต์จรวดไว้ภายใน กระสวยอวกาศไม่ใช้ปีกเมื่ออยู่ในอวกาศ แต่ขับเคลื่อนและเปลี่ยนทิศทางด้วยเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่รอบตัว (ภาพที่ 5) ปีกของกระสวยอวกาศทำหน้าที่สร้างแรงต้านและแรงยก ในขณะที่ร่อนกลับสู่พื้นโลก

ภาพที่ 5 การปรับทิศทางของกระสวยอวกาศ
อุปกรณ์ที่จรวดนำขึ้นไป (Payload)
          ดังที่กล่าวไปแล้ว จรวดเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนขึ้นสู่อวกาศ สิ่งที่จรวดนำขึ้นไปมีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือภารกิจ ซึ่งอาจจะมีทั้งการทหาร สื่อสารโทรคมนาคม หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
           ขีปนาวุธ (Missile) เป็นคำที่เรียกรวมของจรวดและหัวรบ เนื่องจากจรวดมีราคาสูง และมีพิกัดบรรทุกไม่มาก หัวรบที่บรรทุกขึ้นไปจึงมีขนาดเล็ก แต่มีอำนาจการทำลายสูงมาก เช่น หัวรบนิวเคลียร์
           ดาวเทียม (Satellite) หมายถึง อุปกรณ์ที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพ โทรคมนาคม ตรวจสภาพอากาศ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
           ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่โคจรรอบโลก หรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น อาจจะมีหรือไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วยก็ได้ เช่น ยานอะพอลโล ซึ่งนำมนุษย์เดินทางไปดวงจันทร์
           สถานีอวกาศ (Space Station) หมายถึง ห้องปฏิบัติการในอวกาศ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ในอวกาศได้นานนับเดือน หรือเป็นปี สถานีอวกาศส่วนมากถูกใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการวิจัย ทดลอง และประดิษฐ์คิดค้นในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สถานีอวกาศนานาชาติ ISS (International Space Station)

ภาพที่ 6 สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
สภาพแวดล้อมในอวกาศ
          อวกาศเป็นสภาวะไร้อากาศและแรงโน้มถ่วง ดังนั้นการเคลื่อนที่จึงไร้แรงเสียดทานและความเร่ง ยานอวกาศหรือนักบินอวกาศเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ด้วยการจุดจรวดขนาดเล็ก และจุดจรวดด้านตรงข้ามด้วยแรงที่เท่ากันเมื่อต้องการจะหยุด (ภาพที่ 5)
บนอวกาศเต็มไปด้วยรังสีคลื่นสั้นซึ่งมีพลังงานสูง ดาวเทียมและยานอวกาศอาศัยพลังงานเหล่านี้ด้วยการใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม รังสีคลื่นสั้นเหล่านี้มีอานุภาพในการกัดกร่อนสสาร ดังจะเห็นว่ายานอวกาศและดาวเทียมส่วนมากถูกห่อหุ้มด้วยโลหะพิเศษ สีเงิน หรือสีทอง อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในอวกาศถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุชนิดพิเศษ จึงมีราคาแพงมาก

ภาพที่ 7 มนุษย์อวกาศสวมอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนที่ในอวกาศ
          บนพื้นผิวโลกมีบรรยากาศคอยทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่ในอวกาศไม่มีเกราะกำบัง ในขณะที่นักบินอวกาศออกไปทำงานข้างนอกยาน พวกเขาจะต้องสวมใส่ชุดอวกาศ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมที่อยู่บนโลก กล่าวคือ ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ มีออกซิเจนให้หายใจ มีแรงดันอากาศเพื่อป้องกันมิให้เลือดซึมออกตามผิวหนัง และรังสีจากดวงอาทิตย์ (ภาพที่ 7)