1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบสุริยะ
ก. ระบบสุริยะ คือ ดาราจักร
ข. ระบบสุริยะ คือ ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์
ค. ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อยืนอยู่บนโลก
ง. ระบบสุริยะ คือ กลุ่มดาวที่หมุนอยู่ในวงโคจรภายใต้แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์
2. ข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ข. โลกเป็นดาวเคราะห์วงในที่มีดวงจันทร์ 1 ดวง
ค. ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงใน และมีขนาดเล็กกว่าโลก
ง. ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงในที่มองเห็นจากพื้นโลกมีสีแดง
3. ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด
ก. ดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวเนปจูน
4. การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติข้อใด
ก. ฤดูกาล
ข. สุริยุปราคา
ค. น้ำขึ้นน้ำลง
ง. จันทรุปราคา
5. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการเกิดฤดูกาล
ก. การหมุนรอบตัวเองของโลก
ข. ตำแหน่งดวงอาทิตย์บนเส้นขอบฟ้ามีความสูงแตกต่างกันไป
ค. การที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 ½ องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก
ง. การโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยทำมุมตั้งฉากกับเส้นตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลก
6. ทฤษฎีบิกแบง หรือทฤษฎีการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับมากกว่าทฤษฎีอื่นเพราะเหตุใด
ก. การค้นพบควอซาร์
ข. การค้นพบรังสีความร้อน
ค. การขยายตัวของระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง
ง. ทั้ง 3 ข้อรวมกัน
7. ดาวเคราะห์ดวงใดในระบบสุริยะที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุด
ก. ดาวพลูโต
ข. ดาวเสาร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี
8. ข้อใดเรียงลำดับขนาดของดาวเคราะห์จากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็กได้ถูกต้อง
ก. ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส ดาวศุกร์ โลก
ข. ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส โลก ดาวศุกร์
ค. ดาวศุกร์ โลก ดาวเนปจูน ดาวยูเรนัส
ง. ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โลก ดาวศุกร์
9. ถ้าดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากับการโคจรรอบโลกคือ 30 วัน ดังนั้น หนึ่งวันบนดวงจันทร์จะเท่ากับกี่วันบนโลก
ก. 15 วัน
ข. 30 วัน
ค. 45 วัน
ง. 60 วัน
10. ข้อความใดที่ใช้อธิบายวิถีของดวงจันทร์ในวันขึ้น 15 ค่ำ ได้ถูกต้องที่สุด
ก. ดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ข. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่เหนือศีรษะ
ค. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตก
ง. โลกมีตำแหน่งอยู่กลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงคืนดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก
11. ทางช้างเผือกที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นลายพาดสีขาวสว่างบนท้องฟ้าในคืนเดือนมืดสนิทคืออะไร
ก. เนบิวลาชนิดหนึ่ง
ข. ฝุ่นธุลีในระบบสุริยะ
ค. ดวงดาวที่อยู่ในระบบกาแล็กซีของเรา
ง. ดวงดาวที่อยู่นอกระบบกาแล็กซี ซึ่งอยู่ไกลมากจนมองแยกเป็นดวงๆ ไม่ออก
12. วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงใด
ก. อยู่นอกระบบสุริยะ
ข. โลก – ดาวอังคาร
ค. ดาวอังคาร – ดาวพฤหัสบดี
ง. ดาวพฤหัสบดี – ดาวเสาร์
13. เพราะเหตุใดดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะของเรา จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์
ก. ดวงอาทิตย์มีแรงโน้มถ่วงสูง
ข. ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่ามาก
ค. ดวงอาทิตย์มีพลังงานสูงจากการให้แสงสว่าง
ง. ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา
14. การที่ดาวฤกษ์ปรากฏเป็นแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าเกิดจากสิ่งใด
ก. เกิดจากปฏิกิริยาภายในดาวฤกษ์
ข. เกิดจากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าบนดวงดาว
ค. เกิดจากดาวฤกษ์สามารถกระพริบแสงได้ในตัวเอง
ง. เกิดจากการผันผวนของบรรยากาศโลก ทำให้แสงเกิดการหักเหตลอดเวลา
15. ข้อใดเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ก. เอกภพ
ข. ระบบสุริยะ
ค. ทางช้างเผือก
ง. กาแล็กซี
16. ดาวฤกษ์ที่จบชีวิตโดยการไม่ระเบิดจะกลายเป็น
ก. ดาวแคระ ดำ
ข. ดาวแคระขาว
ค. หลุมดำ
ง. ดาวยักษ์แดง
17. ระบบสุริยะประกอบด้วย สิ่งต่าง ๆ ยกเว้นข้อใด
ก. เนบิวลา
ข. ดวงอาทิตย์
ค. ดาวเคราะห์น้อย
ง. ดาวหาง
18. ดาวฝาแฝดของโลกคือ
ก. ดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี
19. ดาวเคราะห์ที่ไม่มีวงแหวนล้อมรอบคือ
ก. พฤหัสบดี
ข. เสาร์
ค. ยูเรนัส
ง. พลูโต
20. ลำดับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะข้อใดถูกต้อง
ก. โลก พฤหัสบดี อังคาร ยูเรนัส
ข. ศุกร์ อังคาร เสาร์ เนปจูน
ค. พุธ โลก ศุกร์ เสาร์
ง. โลก พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ยูเรนัส
21. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ
ก. พฤหัสบดี
ข. เสาร์
ค. ยูเรนัส
ง. พลูโต
22. ดวงจันทร์มีอายุประมาณเท่าไร
ก. 2000 ล้านปี
ข. 3000 ล้านปี
ค.3500 ล้านปี
ง. 4600 ล้านปี
23. จุดบนดวงอาทิตย์หมายถึง
ก. บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบข้าง
ข. บริเวณที่ไม่เกิดการระเบิด
ค. บริเวณที่มีฝุ่นละอองจำนวนมาก
ง. บริเวณเงาบนดวงอาทิตย์
24. ดาวที่ได้ชื่อว่า “ดาวแดง”คือ
ก. ดวงอาทิตย์
ข. ดาวศุกร์
ค. ดาวอังคาร
ง. ดาวพฤหัสบดี
25. ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจะมีความแตกต่างกันหลายประการยกเว้นข้อใด
ก. มวล อุณหภูมิผิว ขนาด ระยะห่าง
ข. สี อายุ องค์ประกอบทาง
ค. เคมี ขนาด ระยะห่าง
ง. มีแสงสว่างในตัวเอง
26. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกมีหลายประการยกเว้นข้อใด
ก. การเกิดแสงเหนือแสงใต้
ข. การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ถูกรบกวน
ค. การเกิดไฟฟ้าแรงสูงในบริเวณประเทศใกล้ขั้วโลก
ง. การเกิดพายุที่รุนแรงในมหาสมุทร
27. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น สิ่งใด
ก. ดาวเคราะห์
ข. ดวงอาทิตย์
ค. กาแล็กซี
ง. ฝุ่นละออง
28. 13.ดาวเคราะห์ที่สามารถเห็นได้เด่นชัดที่สุดด้วยตาเปล่าคือ
ก. ดาวศุกร์
ข. ดาวพฤหัสบดี
ค. ดาวเสาร์
ง. ดาวอังคาร
29. ดาวเคราะห์ชั้นนอกประกอบด้วยดาวเคราะห์จำนวนกี่ดวง
ก. 4 ดวง
ข. 5 ดวง
ค. 6 ดวง
ง. 9 ดวง
30. สีของดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ
ก. สีแดง
ข. สีขาว
ค. สีน้ำเงิน
ง. สีเหลือง
31. ข้อใดส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน
ก. ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ข. การหมุนรอบตัวเองของโลก
ค. โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ง. การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์
32. ข้อใดกล่าวถึงดวงจันทร์
ก. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ข. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศห่อหุ้มมีแสงสว่างในตัวเอง
ค. ดวงจันทร์มีบรรยากาศห่อหุ้มไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
ง. ดวงจันทร์มีบรรยากาศห่อหุ้มมีแสงสว่างในตัวเอง
33. ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เกิดจากอิทธิพลในข้อใด
ก. แรงดึงดูดระหว่างโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ข. แรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
ค. แรงดึงดูดระหว่างโลก ดวงอาทิตย์
ง. แรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์ โลก
34. การหมุนรอบตัวเองของโลกไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ในข้อใด
ก. ทิศ
ข. ประเทศญี่ปุ่นสว่างเร็วกว่าประเทศไทย
ค. น้ำขึ้น - น้ำลง
ง. การขึ้น- ตกของดวงดาว
35. ถ้าเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์
ก.
เห็นแสงกระพริบ
เห็นแสงนิ่งไม่กระพริบ
ข.
มีจำนวนมาก
มีจำนวนน้อย
ค.
มีขนาดใหญ่
มีขนาดเล็ก
ง.
อยู่โดดๆ
อยู่เป็นกลุ่ม
36. กาแล็กซีเพื่อนบ้านที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่
1. กาแล็กซีแอนโดรเมดา
2. แมกเจลแลนใหญ่
3. แมกเจลแลนเล็ก
4. ถูกทุกข้อ
37. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ถ้าแบ่งโดยใช้ระยะห่างจากดวงอาทิตย์และแถบดาวเคราะห์น้อยเป็นเกณฑ์ ดาวเคราะห์ในข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน
ก. ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ โลก
ข. ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร โลก
ค. ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวเสาร์ โลก
ง. ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
38. ดาวเคราะห์ในข้อใดเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้งหมด
ก. ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวพุธ
ข. ดาวศุกร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวอังคารและดาวพุธ
ค. ดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวอังคาร และดาวเนปจูน
ง. ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส ดาวอังคาร และดาวเนปจูน
39. ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด ยกเว้น ดาวเคราะห์ดวงใด
ก. ดาวเสาร์
ข. ดาวยูเรนัส
ค. ดาวเนปจูน
ง. ดาวพลูโต
40. ปัจจุบันนี้เอกภพ มีการเคลื่อนที่อย่างไร
ก. อยู่นิ่ง
ข. เคลื่อนที่เข้ามารวมกัน
ค. ขยายตัวออกจากกัน
ง. ยังไม่มีข้อมูล
41. เนบิวลา มีลักษณะอย่างไร
ก. กลุ่มของดาวฤกษ์
ข. กลุ่มของดาวหาง
ค. กลุ่มของฝุ่นและแก๊ส
ง. กลุ่มของดาวเคราะห์
42. ทฤษฎีใดที่ใช้อธิบายการเกิดเอกภพ
ก. บิกแบง
ข. Steady – state
ค. ทฤษฎีหดตัว
ง. ทฤษฎีขยายตัว
43. เนื้อสารที่เกิดขึ้นขณะเกิดบิกแบงคือ
ก. มวลของสารไฮโดรเจนและฮีเลียม
ข. ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวทริโน และโฟตอน
ค. โฟตอน
ง. ไม่มีข้อถูก
44. กฎของฮับเบิลกล่าวว่า
ก. กาแล็กซียิ่งห่างจากโลกเราเท่าใด ความเร็วของการเคลื่อนห่างออกไปก็ยิ่งช้าลงมากเท่านั้น
ข. กาแล็กซียิ่งห่างจากโลกเราเท่าใด ความเร็วของการเคลื่อนห่างออกไปก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ค. กาแล็กซีเคลื่อนห่างออกจากโลกด้วยอัตราความเร็วสม่ำเสมอ
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
45. ลักษณะและสมบัติของหลุมดำ คือข้อใด
ก. มีมวลต่ำอยู่รอบนอกของกาแล็กซี
ข. มีมวลต่ำอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ค. มีมวลมหาศาลอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี
ง. ไม่มีข้อถูก
46. ดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระบบดาวฤกษ์ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนประมาณเท่าใด
ก. 100,000 ล้านดวง
ข. 10,000 ล้านดวง
ค. 1,000 ล้านลวง
ง. 100 ล้านดวง
47. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติดาราจักรทางช้างเผือก
ก. เป็นดาราจักรไม่มีรูปร่าง
ข. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง
ค. ประกอบด้วยดาวฤกษ์ทุกดวงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
ง. มองเห็นเป็นทางสีขาวสลัวพาดผ่านท้องฟ้าในคืนเดือนมืด
48. การระเบิดบนดวงอาทิตย์จะทำให้คนบนโลกเห็นการระเบิดหลังจากเกิดการระเบิดไปแล้วประมาณกี่นาที
ก. 4 นาที
ข. 6 นาที
ค. 8 นาที
ง. 10 นาที
49. 1 ปีแสงคือระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ได้ใน 1 ปี มีค่าเท่ากับข้อใด
ก. 5.9 x 1012 กิโลเมตร
ข. 7.5 x 1012 กิโลเมตร
ค. 8.3 x 1012 กิโลเมตร
ง. 9.5 x 10 12 กิโลเมตร
จากข้อมูลในตารางใช้ตอบคำถามข้อ 50 - 51
ชนิดของดาวฤกษ์
สีของดาวฤกษ์
A
ขาว
C
เหลือง
D
ส้ม
50. ดาวฤกษ์ใดที่มีอุณหภูมิมากที่สุด
ก . A
ข. B
ค. C
ง. D
51. ดวงอาทิตย์ของเราจะมีสีเหมือนดาวฤกษ์ชนิดใด
ก . A
ข. B
ค. C
ง. D
52. ข้อความใดอธิบายความหมายของกาแล็กซีได้ถูกต้องที่สุด
ก. กลุ่มเมฆหมอกก้อนกลมมีลักษณะคล้ายจาน
ข. เป็นกระจุกดาวคล้ายดาวลูกไก่
ค. เป็นแถบเรืองแสงสว่างขาวพาดไปบนท้องฟ้า
ง. ระบบของกลุ่มดาวต่าง ๆ รวมทั้งโลก ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และอุกกาบาต
ตอนที่ 2
1. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น .................................................................
2. ระบบสุริยะประกอบด้วย .................................................................
3. ขณะที่มวลสารของเนบิวลาส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ เนบิวลาที่อยู่รอบนอกไม่ได้เคลื่อนไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่.................................................................
4. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะการก่อตัวเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ออกเป็น 4 เขต คือ .................................................................
5. ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะผิวแข็งหรือเป็นหินแบบเดียวกับโลกจึงเรียกว่า ...........................................................................
6. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็น........................................
7. ดาวเคราะห์ชั้นนอก ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
8. เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์คือ .................................................................
9. ดวงอาทิตย์เป็น .................................................................
10. เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจาก .................................................................
11. ลมสุริยะหมายถึง .................................................................
12. ลมสุริยะใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกภายในเวลา 20 – 40 ชั่วโมงและแสงสว่างเดินทางเพียง...........................
13. บริเวณที่มีการระเบิดอย่างรุนแรงบนดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุก ๆ .................................................................
14. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกคือ .................................................................
.
.
..
.
.
.
เฉลยแบบทดสอบ
1. ง 2. ค 3. ค 4. ก 5. ค
6. ง 7. ข 8. ค 9. ข 10. ค
11. ข 12. ก 13. ง 14. ง 15. ข
16. ข 17. ง 18. ข 19. ง 20. ข
21. ก 22. ง 23. ก 24. ก 25. ง
26. ง 27. ข 28. ก 29. ก 30. ก
31. ข 32. ก 33. ง 34. ก 35. ข
36. ก 37. ง 38. ก 39. ง 40. ค
41. ค 42. ก 43. ข 44. ข 45. ค
46. ข 47. ค 48. ค 49. ค 50. ง
51. ง 52. ง
1. การเกิดระบบสุริยะจากเนบิวลามวลสารส่วนใหญ่กลายเป็น ดวงอาทิตย์ ซึ่งมีค่าประมาณ 99.9 % ของมวลสารทั้งหมดของระบบสุริยะ
2. ระบบสุริยะประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและเศษวัตถุขนาดเล็กๆ
3. ขณะที่มวลสารของเนบิวลาส่วนใหญ่กลายเป็นดวงอาทิตย์ เนบิวลาที่อยู่รอบนอกไม่ได้เคลื่อนไปรวมเป็นดวงอาทิตย์ แต่เคลื่อนที่ หมุนวงเป็นแผ่นกลมแบนรอบดวงอาทิตย์และจับกลุ่มกลายเป็นดาวเคราะห์และบริวารอื่น ๆ ของดวงอาทิตย์
4. นักดาราศาสตร์แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ตามลักษณะการก่อตัวเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ ออกเป็น 4 เขต คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ชั้นนอกและเขตของดาวหาง
5. ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะผิวแข็งหรือเป็นหินแบบเดียวกับโลกจึงเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน
6. ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจนและฮีเลี่ยมทั้งดวง
7. ดาวเคราะห์ชั้นนอก ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
8. เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์คือ ดาวหางจำนวนมากที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ และเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์หินคือดาวเคราะห์น้อย
9. ดวงอาทิตย์เป็น ดาวฤกษ์ที่มีสีเหลือง ชนิดสเปกตรัม G อุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน
10. เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้เนื่องจาก แสงสว่างที่ส่องออกมาจากดวงอาทิตย์ไปสะท้อนกับดาวเคราะห์นั้น
11. ลมสุริยะหมายถึง อนุภาคโปรตรอนและอิเล็กตรอนที่แผ่รังสีออกมาจากดวงอาทิตย์
12. ลมสุริยะใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกภายในเวลา 20 – 40 ชั่วโมงและแสงสว่างเดินทางเพียง 8.3 นาที
13. บริเวณที่มีการระเบิดอย่างรุนแรงบนดวงอาทิตย์จะเกิดขึ้นทุก ๆ 11 ปีซึ่งจะมีการปลดปล่อยอนุภาคจำนวนมากมายเรียนว่า พายุสุริยะ
14. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกคือ การเกิดแสงเหนือแสงใต้ การเกิดไฟฟ้าแรงสูงในบริเวณประเทศใกล้ขั้วโลก การสื่อสารวิทยุคลื่นสั้นและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ถูกรบกวน